Phenol formaldehyde หรือที่เรารู้จักกันอีกชื่อว่า เบกกาไลต์ (Bakelite) เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซ็ต (Thermosetting) หรือก็คือ พลาสติกชนิดที่ขึ้นรูปแล้ว จะไม่สามารถนำมาหลอยละลายด้วยความร้อนเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีก มีสีเหลืองอำพันคล้ายๆน้ำมัน มีความแข็งแรงและทนทานอยู่พอตัว แต่ยังไม่เท่าอีพ็อกซี (Epoxy) มันเป็นเรซินชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากคุณสมบัติที่ดี และราคาที่ไม่แพงของมัน
ข้อดีของ Phenol formaldehyde
- น้ำหนักเบา
- เป็นฉนวนไฟฟ้า
- พื้นผิวไม่มีรูพรุน
- กันน้ำและความชื้น
- ทำความสะอาดง่ายเมื่อเคลือบพื้นผิว
- ทนความร้อนได้สูงถึง 250 องศาเซลเซียส
- ราคาไม่แพง (เมื่อเทียบกับวัสดุที่คล้ายกัน)
- ทนต่อสารเคมีและตัวทำละลายทั่วๆไป
- เนื้อแข็งคงตัว แต่เปราะ ทนทานต่อการผุกร่อน
- ความต้านทานต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย
ข้อเสียของ Phenol formaldehyde
- ไวต่อการขีดข่วนต่างๆ
- ไม่สามารถโดนเปลวไฟได้
- ไม่สามารถสัมผัสกับรังสียูวีหรือแสงแดดโดยตรงเป็นระยะเวลานานๆ
- ทนต่อการกัดกร่อนได้ปานกลางแต่อาจไม่เหมาะสำหรับใช้ใกล้กับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์
เนื่องจากคุณสมบัติของมัน มันจึงถูกนำไปใช้ในการทำปลอกหุ้มคอยล์รถยนต์ สารเคลือบในอาคารและสถานที่ศึกษาแกนคอยล์ในเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ด้ามเครื่องมือช่าง หูหม้อ หูกระทะ ด้ามมีด อุปกรณ์เคมี แบริ่ง แผงวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กาวสารเคลือบผิว ตลอดจนใช้เป็นส่วนประกอบของระบบท้อน้ำและอุตสาหกรรมการบิน
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจากเว็บไซด์
https://www.sciencedirect.com/topics/chemical-engineering/phenolic-resins
ฝาขวดพลาสติกทำอะไรได้บ้าง? – ลองเอาฝาขวดน้ำมาทำเป็นของใช้และของตกแต่งกัน
ไอเดียรีไซเคิลฝ
ส.ค.
พลาสติกเทอร์โมเซตติ้ง คืออะไร คุณสมบัติ และตัวอย่าง – Thermosetting plastic
พลาสติกเทอร์โมเ
มิ.ย.
สิ่งประดิษฐ์จากแก้วพลาสติกใส – 5 ไอเดีย DIY แก้วพลาสติกใสให้เป็นสิ่งของต่างๆ
ไอเดียรีไซเคิลแ
ส.ค.