ใช้ถุงพลาสติกให้ปลอดภัย ด้วยการใช้มันให้ถูกวิธี ทำอย่างไร มาดูกัน
ถุงพลาสติกนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เช่น ถุงร้อน หรือ ถุงพลาสติก pp เป็นต้น เนื่องจากถุงพลาสติกนั้นมีประโยชน์ที่หลากหลายมากและพลาสติกเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่หาซื้อได้ง่าย มีราคาที่ค่อนค้างถูก และมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้ แต่คุณรู้ ไหมว่า!…พลาสติกทุกชนิดที่เราใช้กันอย่างเป็นปกติในชีวิตประจำวันอย่างหลอดน้ำ ขวดใส่น้ำ โฟม ถุงพลาสติก ฯลฯ มันอาจย้อนกลับมาทำร้ายตัวคุณ และคนที่คุณรัก หากท่านใช้พวกมันอย่างไม่ถูกวิธี เพราะหากใช้พลาสติกแต่ละชนิดผิดวิธี มันจะก่อสารเคมีชนิดต่างๆที่สามารถทำอันตรายให้กับร่างกายของเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณควรจะอ่านบทความนี้สักนิดเพื่อทำให้ท่านให้ถุงพลาสติกแต่ละชนิดอย่างถูกต้อง และห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ
ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่าพลาสติกที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำนั้นมีกี่ชนิด พลาสติกนั้นแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1. พีอีทีอี (PETE) ชื่อเต็มของมัน คือ polyethylene terephthalate ethylene เป็นพลาสติกที่มีความใส ทนแรงกระแทกได้ดี แข็งแรงไม่แตกเปราะง่าย มีความยืดหยุ่นสูงและป้องกันการซึมผ่านของของเหลวได้ดี ใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มต่างๆ น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาซักผ้า และ เป็นบรรจุภัณฑ์ของอาหารบางชนิด
2. เอชดีพีอี (HDPE) ชื่อเต็มของมัน คือ high density polyethylene เป็นพลาสติกสีทึบ มีความเหนียว แตกยาก มีความยืดหยุ่น ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆได้ง่าย ได้แก่ ขวดน้ำดื่ม ขวดนม ถุงหิ้วพลาสติก ถังน้ำ บรรจุภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดใช้เป็นบรรจุภัณฑ์นมสด น้ำดื่ม ขวดยาต่างๆ ขวดน้ำมันเครื่อง น้ำยาฟอกขาว น้ำยาซักผ้า แชมพู และถุงพลาสติกบางชนิด
3. พีวีซี (PVC) ชื่อเต็มของมัน คือ polyvinyl chloride เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนสารเคมีได้ดี กันน้ำ สามารถพ่นสีให้ติดได้ ใช้เป็นพลาสติกสำหรับห่อหุ้ม สายไฟ ใช้ทำเป็นท่อน้ำต่างๆ ทำเป็นขวดบรรจุชนิดบีบ มักจะใช้บรรจุน้ำมันพืช น้ำยาเช็ดกระจก ที่ใช้กันมากคือ ถุงหิ้วที่ใช้ใส่ของกันตามร้านค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อต่างๆ
4. แอลดีพีอี (LDPE) ชื่อเต็มของมัน คือ low density polyethylene เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว มีความใส ยืดหยุ่น แต่มันไม่ทนความร้อน นิยมนำมาทำเป็นฟิล์มห่ออาหารแช่แข็ง ใช้เป็นถุงหิ้ว และที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ถุงเย็นใส่อาหารหลากหลายชนิด ที่ไม่ใช่อาหารที่มีความร้อน
5. พีพี (PP) ชื่อเต็มของมัน คือ polypropylene มักเรียกกันว่า ถุงพลาสติก pp หรือถุงร้อน เป็นพลาสติกที่มีความใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว มีความยืดหยุ่นสูง ทนสารเคมีชนิดต่างๆและน้ำมัน สามารถใช้งานกับอุณหภูมิที่สูงถึง 175 องศาเซลเซียส ขวดนมเด็ก ถุงร้อนใช้สำหรับบรรจุอาหารร้อน เช่น ก๋วยเตี๋ยว กาแฟร้อน เป็นถ้วยกาแฟ ชา ชนิดใช้แล้วทิ้ง
6. โพลีสไตรีน (Ps) ชื่อเต็มของมันคือ Polystyrene เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่แปราะและแตกง่าย เหมาะสำหรับทำเป็น โฟม ข้าวกล่อง แผงใส่ไข่ ใช้เป็นตัวรองรับการกระแทก ของอุแกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น วิทยุ ตู้เย็น โทรทัศน์ฯลฯ ในลังกระดาษอีกที ใช้ทำเป็นถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง ช้อน ส้อมที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
7. ชนิดอื่นๆ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหลายชนิด ที่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวในข้างต้น เช่น พอลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate ) ทำเป็นขวดน้ำ เหยือกน้ำ ขวดนม ขวดน้ำบรรจุขนาด 5 ลิตร ขวดน้ำนักกีฬา เป็นถ้วยใส ช้อนส้อม มีดชนิดใส แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด กระสอบปุ๋ย สายรัดพลาสติก ฝาขวด ขวดน้ำดื่มแบบขุ่น เป็นต้น
พลาสติกทั้ง 7 ชนิดได้ผ่านกระบวนการผลิตโดยใช้สารเคมี เพื่อใช้งานตามประเภทต่าง ๆ ที่ระบุข้างต้น
แต่ว่าผู้บริโภคนั้นกลับนำพลาสติกแต่ละชนิดไปใช้อย่างไม่เหมาะสม และผิดวิธี ส่งผลให้เกิดสารเคมีต่างๆ ซึมซับเข้าไปในร่างกายของผู้บริโภค และก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีคำเตือนออกมาจาก นายประกาย บริบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถึงการนำพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำดื่มมาใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งว่า พวกเราทุกคนไม่ควรนำขวดพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำดื่มมาใช้ซ้ำๆ หลายๆ รอบเป็นอันขาด แม้ว่าขวดน้ำดื่มพวกนี้จะมีความคงทนเป็นพิเศษ แต่การล้างแล้วนำมันกลับมาใช้ใหม่ควรพิจารณาและให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการล้างทำความสะอาดขวด PET ที่มีรูปทรงหรือร่องที่เป็นลวดลายเฉพาะของขวด เป็นจุดที่ทำความสะอาดยาก ถ้าหากทำความสะอาดได้ไม่สะอาดพอจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคอย่างดี ถ้าสังเกตว่าขวดน้ำที่ผ่าน การล้างและใช้ซ้ำนานๆ มีสีที่เปลี่ยนไป มีรอยร้าว รอยบุบ ขุ่นหรือมีคราบเหลืองหรือคราบเขียวให้ทิ้งทันที
หากเก็บพลาสติกชนิด PET ไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม ก็สามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะขวดน้ำพลาสติก หากมันถูกแสงแดดหรือความร้อนเป็นเวลานาน ทำให้สารเคมีต่างๆที่อยู่ในขวดพลาสติกสลายตัว ละลายไปผสมกับน้ำดื่มในขวด หรือหากวางน้ำดื่ม ไว้ใกล้สารเคมี หรือผงซักฟอก ก็จะส่งผลให้น้ำในขวดพลาสติกดูดกลิ่นสารเคมีเข้าไปได้ ทำให้มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และมีโอกาสที่สารนั้นอาจปนเปื้อนสู่น้ำดื่ม ซึ่งเมื่อเราดื่มน้ำนั้นเข้าไป เราก็จะได้รับสารเคมีนั้นเต็มๆ
บางทีการใช้ขวดน้ำพลาสติกพวกนี้ไม่ถูกวิธี อาจเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้ขณะนี้มะเร็งเต้านมในเพศชายมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยแล้วพบว่า 1 ใน 100 คนเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เนื่องจากชายไทยส่วนใหญ่นิยมดื่มน้ำจากขวดพลาสติกมากขึ้น เพราะนอกจากจะสะดวก ง่ายสำหรับการพกพาแล้ว ขวดพลาสติกยังทนทานต่อแรกกระแทกและแรงกดในระดับหนึ่งอีกด้วย และในปัจจุบันคนเราขาดความรู้ความเข้าใจและขาดคำแนะนำ จึงทำให้ผู้คนเหล่านี้บริโภคสารก่อมะเร็งเข้าไปในร่างกายโดยไม่รู้ตัว
นอกจากนี้ ยังมีผลการวิจัยของคณะนักวิทยาศาสตร์ทั้งในสหรัฐและอังกฤษที่ต่างระบุตรงกัน ว่า ในพลาสติกนั้นมีสาร BPA ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง เป็นสารเคมีที่สงผลอันตรายให้แก่ร่างกายได้ อย่าง ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไตบางชนิด เบาหวาน และยังเป็นอันตรายต่อการพัฒนาต่อมลูกหมากและสมอง รวมถึงยังทำให้ ทารกในครรภ์ เด็กเล็กและเด็กโตมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอีกด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุอีกสาเหตุนึงที่เราไม่ควรนำบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกมาบรรจุอาหารและเครื่อดื่มซ้ำๆกันหลายๆครั้ง
ไม่ใช่แค่ขวดน้ำเท่านั้น…ใครจะรู้บ้างว่า “โฟม” ที่ใช้บรรจุอาหารร้านโปรดจากร้านริมถนนของเรามันจะเต็มไปด้วยอันตรายหากเราใช้มันไม่ถูกต้อง !
จากการสำรวจวิจัยภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดของกระทรวง สาธารณสุข พบว่า ได้มาตรฐานทุกตัวอย่าง และจากการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ประเภทโฟมที่ใส่อาหารที่ผู้ผลิตนำมาตรวจ วิเคราะห์เพื่อการรับรองความปลอดภัยของสินค้า ก็พบว่ามีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนดด้วย ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัวภาชนะ แต่ปัญหามันอยู่ที่การใช้งานที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดความรู้ แทบไม่มีใครรู้เลยว่าโฟมใส่อาหาร ไม่ทนต่อความร้อน ถ้าผู้จำหน่ายอาหารไม่รองใบตองหรือถุงร้อนทั้งด้านบนและล่างโฟมก่อนวางอาหาร เมื่อถูก
ความมันและความร้อนจากอาหาร สารเคมีจากโฟมจะละลายได้ง่ายขึ้นและออกมาปนเปื้อนกับอาหาร หากรับประทานสะสมเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ฮอร์โมนต่างๆในร่างกายถูกทำลาย และมันยังส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท ตับ ไต เม็ดเลือดแดง และก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ในที่สุด
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง “ถุงพลาสติก” ที่ใช้ใส่อาหารก็อันตรายเช่นกัน หากใช้งานไม่ถูกประเภท
ถุงพลาสติกนั้นมีที่ใช้บรรจุอาหารนั้นมี 3 ประเภท ซึ่งแต่ละชนิดก็อาจทำอันตรายกับผู้บริโภคได้หากใช้งานผิดวิธี ชนิดที่ 1 คือถุงร้อน หรือถุงพลาสติก pp ซึ่งมีลักษณะใสเหมือนแก้ว มีความยืดหยุ่นเล็กน้อย เหมาะสำหรับการบรรจุอาหารร้อนๆและอาหารที่มีไขมัน ทนความร้อนได้มากถึง 100-120 องศาเซลเซียส แบบที่สอง คือ ถุงเย็น ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างใสนิ่ม ยืดหยุ่นพอสมควร เหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารแช่แข็ง ทนความเย็นได้ถึง -70 องศาเซลเซียส แต่ทนความร้อนได้ไม่มาก จึงไม่ควรนำมาใช่อาหารร้อนๆอย่างยิ่ง และแบบสุดท้าย คือ ถุงหิ้วหรือถุงก๊อบแก๊บ ถุงชนิดนี้ไม่ปลอดภัยต่อการบรรจุอาหารทุกชนิด แต่คนส่วนใหญ่กลับนำมาใส่อาหารโดยเฉพาะปาท่องโก๋ กล้วยแขก ฯลฯ เพราะถึงแม้จะมีกระดาษรอง อีกชั้น แต่สารโลหะหนักก็มีโอกาสที่จะละลายออกมาปนเปื้อนได้
อย่างไรก็ตาม อันตรายจากพลาสติกชนิดต่างๆ ก็สามารถป้องกันได้
วันนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้นำวิธีหนีให้ไกลจากสารพิษอันตรายในพลาสติกมาฝากกัน เริ่ม จากการปรับเปลี่ยนการใช้บรรจุภัณฑ์ ให้เปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากแก้วแทนพลาสติก เช่น ขวดแก้ว จานหรือชามกระเบื้อง หรือจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุอินทรีย์แทนพลาสติก เช่น ใบตอง ห่อผัดไทยใช้เชือกกล้วยผูกหิ้ว ส่วนใครที่หลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกไม่พ้น ก็ไม่ควรทิ้งขวดน้ำพลาสติกไว้ในรถ และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ หรือถ้าท่านจำเป็นต้องดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ก็ลองนำขวดพลาสติกที่ไร้สาร BPA ไปใช้ ซึ่งปัจจุบันมีขายทั่วไปตามอินเทอรเน็ต อย่าใช้ความร้อนสูงหรือใช้ความเย็นจัดกับภาชนะพลาสติก อาทิ เอาไปใส่ในไมโครเวฟหรือใส่ไว้ในช่องแช่แข็ง อย่าให้ภาชนะกระทบกระแทก หรือขูดขีดมาก ระวังไม่ให้เด็กอมขวดหรือกัดพลาสติกเล่น และในแต่ละวันควรจำกัดการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกไว้ไม่ให้มากจนเกินไป
เพียงแค่เราทำความเข้าใจกับพลาสติกแต่ละชนิด ว่าพลาสติกแต่ละชนิดควรใช้งานอย่างไร และไม่ควรนำมาใช้งานอย่างไร หรือหลีกเลี่ยงไปใช้วัสดุที่เป็นแก้วแทนก็จะปลอดภัยกว่า คุณอย่าคิดว่ามองข้ามเรื่องพวกนี้เพราะว่าเห็นมันเป็นเรื่องจุกจิกจู้จี้เลยนะ ถึงมันจะสะสมทีละน้อย แต่ถ้าสะสมมากๆมันก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ กว่าคุณจะรู้ตัวอีกที มันอาจจะสายเกินแก้ไปแล้ว ดังนั้น กันไว้ก่อน ดีกว่ามาตามแก้ทีหลังนะ มันอาจทำให้คุณอยู่กับคนที่คุณรักไปนานๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.sanook.com/health/6769/
สิ่งประดิษฐ์จากแก้วพลาสติกใส – 5 ไอเดีย DIY แก้วพลาสติกใสให้เป็นสิ่งของต่างๆ
ไอเดียรีไซเคิลแ
ส.ค.
ผ้าโพลีเอสเตอร์ คืออะไร มีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง
ผ้าโพลีเอสเตอร์
มิ.ย.
สิ่งของที่สามารถรีไซเคิลได้ง่ายๆ รอบตัวเรา 10 อย่าง
สิ่งของที่สามาร
เม.ย.