ยาง SBR คือยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับยางจากธรรมชาติ แถมราคายังย่อมเยา มันจึงเป็นยางสังเคราะห์ชนิดที่นิยมใช้มากที่สุในปัจจุบัน โครงสร้างทางเคมีของมันประกอบไปด้วย สไตรีน และ บิวตาไดอีน ส่วนมากสัดส่วนของบิวตาไดอีนจะอยู่ที่ 75% และสไตรีน 25% แต่บางชนิดก็จะมีสัดส่วนที่ต่างออกไป โดยยาง SBR ที่มีสัดส่วนของสไตรีนมากกว่าจะมีความแข็งที่เพิ่มมากขึ้น แต่ความยืดหยุ่นก็จะลดลง โดยทั่วไปแล้วยาง SBR จะมีความยืดหยุ่น ความทนต่อแรงฉีกขาดและแรงดึงน้อยกว่ายางธรรมชาติ จึงต้องมีการเติมสารเสริมแรงเข้าไปเพื่อที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นของมัน
ยาง SBR นิยมทำเป็นอะไรบ้าง
- พื้นรองเท้า
- ยางปูพื้น
- แผ่นกันกระแทก
- ปะเก็น
- หมากฝรั่งบางชนิด
- ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า
- สายยางต่างๆ เช่น สายยางสำหรับรดน้ำต้นไม้
- โอริง (เส้นยางกลมๆที่ไว้กันการรั่วไหลของของเหลว)
- ยางยานพาหนะทั่วๆไป เช่น รถยนต์นั่ง มอเตอร์ไซค์
ข้อดีของยาง SBR
- ทนต่ออุณหภูมิได้ตั้งแต่ -50 ถึง 100 องศาเซลเซียส
- เป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้ดี
- ป้องกันรองขีดข่วนได้ดี
- ราคาย่อมเยา ช่วยลดต้นทุนการผลิต
ข้อเสียของยาง SBR
- ทนความร้อนได้ไม่สูงมาก และมีการกักเก็บความร้อนสูงกว่ายางธรรมชาติ จึงไม่ค่อยเหมาะสำหรับล้อรถบรรทุก
- มีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงฉีดและแรงดึงน้อยกว่ายางธรรมชาติ
- ความสามารถในการทนทานต่อแสงแดด และโอโซนค่อนข้างต่ำ
- ไม่ค่อยทนต่อน้ำมันและของเหลว จึงทำให้เสื่อมสภาพเร็วเมื่อเจอกับปัจจัยเหล่านี้บ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของยาง SBR บางประการสามารถแก้ไขได้โดยการเติมสารเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ เข้าไปในตัวยาง มันจึงเป็นยางอรรถประโยชน์ที่นิยมใช้เป็นอย่างมากในปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
สิ่งประดิษฐ์จากฝาขวดน้ำ – 11 ไอเดียรีไซเคิลฝาขวดน้ำที่ทำได้ง่ายๆ
รีไซเคิลฝาขวดน้
มิ.ย.
พลาสติก พอลิไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC – อันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม
พอลิไวนิลคลอไรด
มิ.ย.
DIY สิ่งประดิษฐ์จากขยะเหลือใช้ต่างๆ – 7 ไอเดียในการนำขยะมารีไซเคิลอย่างสร้างสรรค์
7 สิ่งประดิษฐ์จ
ส.ค.