พลาสติกวิศวกรรมคืออะไร มีข้อดี – ข้อเสียอะไรบ้างเมื่อเทียบกับพลาสติกทั่วๆไป

พลาสติกวิศวกรรม

ลาสติกวิศวกรรม ( Engineering plastic) คือพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าพลาสติกธรรมดาจำพวก PPPEPETPVC ทั่วๆไปโดยหลักๆ พวกมันจะมีความแข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี ทนทานต่อการกัดกร่อนและสึกหรอ และทนต่ออุณหภูมิได้ดีกว่าพลาสติกแบบธรรมดาเนื่องจากมีการเติมสารเติมแต่งคุณสมบัติต่างๆเข้าไป เช่น สารเพิ่มความทนทาน ความยืดหยุ่น กันความร้อน กันรังสี UV สารเพิ่มความทนทานต่อสารเคมี เป็นต้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงกว่าพลาสติกเหล่านี้นั้นไม่ได้ถูกผลิตออกมาในปริมาณมากเหมือนพลาสติกแบบธรรมดา พลาสติกวิศวกรรมนั้นมักจะถูกทำเป็นชิ้นส่วนของอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ล้อพลาสติกของเครื่องมืออุตสาหกรรม อุปกรณ์การแพทย์ ชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมการบิน และชิ้นส่วนต่างๆในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น

พลาสติกวิศวกรรม มีอะไรบ้าง

  • Acetal (POM) : หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “พลาสติกปอม” เป็นพลาสติกที่มีสีขุ่น สามารถทนต่อแรงดึงและแรงฉีดขาดได้สูงมาก ทนต่อแรงเสียดสี และทนต่ออุณหภูมิได้ดี มีน้ำหนักมาก นิยมนำไปทำเป็นวัสดุที่ใช้ทดแทนเหล็กในสิ่งของต่างๆ เช่น ส่วนประกอบของฟันเฟืองและเกียร์ สปริง และชิ้นส่วนของวาล์ว
  • Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS) : เป็นพลาสติกที่มีความทนทานต่อสารเคมีสูง ทนความร้อนได้ค่อนข้างดี มีความแข็งแรง เหนียว ทนทาน และมีความเงางามในตัว นิยมนำมาทำเป็นชิ้นส่วน Lego เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่างๆในอุตสาหกรรมยานยนต์
  • Polytetrafluoroethylene (Teflon) : หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า “เทฟล่อน” มันเป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติเด่นคือสามารถทนความร้อนได้สูงมาก โดยที่มันสามารถทนความร้อนถึง 250 องศาเซลเซียส นิยมนำมาทำเป็นสารเคลือบผิวในกระทะ สารเคลือบผิวเครื่องใช้ไฟฟ้า และฉนวนกันความร้อนต่างๆ เป็นต้น
  • Polybutylene Terephthalate (PBT) : เป็นพลาสติกที่มีจุดเด่นในด้านความสามารถในการทนต้อความร้อนในระยะยาวทนต่อสารเคมี และทนทนทุกสภาพอากาศ พลาสติกชนิดนี้นิยมมาทำเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนรถยนต์บางชนิด
  • Polycarbonate (PC) : เป็นพลาสติกที่มีความคล้ายคลึงกับกระจกในด้านความใส แต่มันทนทานกว่ากระจกถึง 250 เท่า แถมยังมีน้ำหนักเบา กละทนความร้อนได้ค่อนข้างดี นิยมนำมาทำเป็นหลังคาพอลิคาร์บอเนต และแผ่นผนังพลาสติก
  • Polyamides (nylon) : เป็นพลาสติกที่มีสีขุ่น มีความยืดหยุ่นสูง แตกหักและเป็นรอยได้ยาก ทนต่อสารเคมี และสามารถต้านทานแรงกดและแรงดึงต่างๆได้ดี นิยมมาทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ล้อและสายพานลำเลียง เป็นต้น
  • Polyether ether ketone (PEEK) : เป็นพลาสติกวิศวกรรมที่สามารถทนทานต่อสารเคมีและการกัดกร่อนต่างๆได้ดีเยี่ยม มีความเหนียวมาก ทนความร้อนได้ดี นิยมนำมาทำเป็นขวดใส่สารเคมีต่างๆ และอุปกรณ์และสิ่งของต่างๆที่เกี่ยวกับยาและการแพทย์ 

จะเห็นได้ว่าพลาสติกวิศวกรรมนั้นมีประโยชน์ในหลายๆด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตสาหกรรมที่ต้องใช้พลาสติกที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าพลาสติกแบบธรรมดา แต่พวกมันก็มีข้อเสีย นั่นคือ ราคาแพง มันจึงไม่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางเหมือนพลาสติกทั่วๆไป 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

 
    Banner Image