Edible film หรือ แผ่นฟิล์มที่สามารถบริโภคเข้าไปได้ ทำจากอะไร และมีดียังไง

Edible film

Edible film ฟิล์มบริโภคได้ – ถ้าพูดถึงฟิลม์ยืด เรามักจะนึกถึงฟิล์มยืดธรรมดาๆ ที่ทำจากพลาสติก มีไว้สำหรับห่อหุ้มอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นและสิ่งสกปรก รักษาความสดและยืดอายุให้อาหาร โดยที่แผ่นฟิล์มเหล่านี้ทำมาจากพลาสติกได้หลายชนิด เช่น PPPVC และ LDPE เป็นต้น และมีการเติมสารอื่นๆเพิ่มเข้าไปเพื่อให้มันสามารถเกาะติดได้  ซึ่งฟิลม์เหล่านี้สามารถใช้งานได้แค่ครั้งเดียว จากนั้นก็จะถูกทิ้งลงสู่ธรรมชาติ ซึ่งกว่าพลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลายได้ ก็กินเวลาหลายร้อยปี

ประเภทของ Edible film

นักวิทยาศาสตร์หลายๆท่านจึงพยายามคิดค้นไอเดียที่จะนำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาทำเป็นฟิลม์ยืดชีวภาพ ที่สามารถรับประทานเข้าไปได้ โดยไม่มีผลเสียใดๆต่อร่างกายมนุษย์ แล้วอะไรบ้างที่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตฟิล์มจากธรรมชาติเหล่านี้ ไปดูกันเลย

 

ฟิลม์จากแครอท

แครอทนั้นสามารถนำมาทำเป็นฟิล์มห่ออาหารได้ นอกจากนี้ยังสามารถรับประทานได้อีกด้วย แถมยังอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนที่ได้จากแครอท เหมาะสำหรับนำไปห่ออาหารหระเภทผลไม้กวน และลูกอมประเภทต่างๆ

ฟิลม์จากแป้งข้าวเจ้าและมันสำปะหลัง

คุณรู้ไหมว่าแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังก็สามารถนำมาทำเป็นแผ่นฟิล์มเหมือนกัน วิธีทำคร่าวๆคือนำแป้งทั้งสองชนิดไปผสมน้ำในอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ไปปั่นแล้วเติมสารละลายกลีเซอรอล จากนั้นก็รีดให้เป็นแผ่นแล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ก็จะออกมาเป็นแผ่นฟิล์มห่ออาหารที่สามารถทานได้ สามารถนำไปห่อผัก ผลไม้ หรืออาหารต่างๆเพื่อยืดอายุอาหารและรักษาคุณภาพอาหารได้เหมือนฟิล์มพลาสติก

ฟิลม์จากสาหร่าย

ไม่น่าเชื่อว่าแม้แต่พืชที่หลายๆคนมองข้ามอย่างสาหร่าย ก็สามารถนำมาผลิตเป็นฟิล์มห่ออาหารแบบทานได้เหมือนกัน โดนการนำสารที่ชื่อว่า คาราจีแนน ที่มักจะถูกสกัดไปใช้ในอาหารเสริมในสาหร่าย มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตฟิลม์ จากการวิจัยฟิล์มที่ทำจากคาราจีแนน พบว่าฟิล์มชนิดสามารถรักษาความสดของอาหารได้ดี ช่วยรักษาความชื้นให้กับผักและผลไม้ และจากงานวิจัยยังพบว่ามันยังสามารถรักษาวิตามิน C ในแอปเปิ้ลที่หั่นทิ้งไว้ แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น 5 วัน ที่มันห่อหุ้มอยู่ได้มากถึง 98%

ฟิล์มจากสัตว์ทะเล

ฟิล์มห่ออาหารไม่ได้ทำได้จากพลาสติก และพืชเท่านั้น มันยังสามารถทำจากสัตว์ทะเลได้อีกด้วย โดยการใช้สารไคโตซาน (Chitosan)  มันคือสารสกัดที่ได้จากเปลือกกุ้ง ปู และแกนกลางำตัวของปลาหมึก โดยแยกเอาโปรตีนและเกลือแร่ออก จะได้สารชนิดหนึ่งที่เรียกว่าไคติน (Chitin) และนำไปผ่านกระบวนการทางเคมีต่างๆจนออกมาเป็นสารไคโตซาน จากนั้นก็นำสารนี้ไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตฟิลม์ยืดสำหรับห่ออาหารที่สามารถรับประทานได้ ไคโตซานนั้นมีเส้นใยอาหารสูง จึงดีต่อร่างกายเรา แถมยังเป็นการใช้ของเหลือจากสัตว์ทะเลได้อย่างคุ้มค่า

ยังมีฟิล์มยืดห่ออาหารที่สามารถกินได้อีกหลากหลายชนิดที่เราไม่ได้นำมาเสนอ คนที่คิดค้นพวกมันขึ้นมามีจุดประสงค์หลักๆคือ ต้องการนำมันมาใช้แทนพลาสติกบางส่วนเพื่อให้ขยะที่เกิดจากพลาสติกตามธรรมชาติลดน้อยลง ซึ่งส่งผลดีต่อพวกเราทุกคน

Sources

 
    Banner Image