พลาสติกชีวภาพจากเปลือกกล้วยและต้นกล้วย – นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพในอนาคต

พลาสติกชีวภาพจากเปลือกกล้วย

พลาสติกชีวภาพจากเปลือกกล้วยและต้นกล้วย – ทุกวันนี้ พอเราทานกล้วยเสร็จ เปลือกของมันก็มักจะถูกโยนทิ้งลงถังขยะทันที แม้ว่ามันจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แยู่ก็ตาม โดยที่เปลือกกล้วยนั้นสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยพืช ปุ๋ยหมัก ได้

พลาสติกชีวภาพจากเปลือกกล้วย

เด็กสาวตุรกีอายุเพียง 16 ปี ชื่อว่า เอลิฟ บิลกิน เธอเล็งเห็นปัญหานี้ เธอเลยพยายามค้นคว้า และวิจัย เพื่อให้สามารถนำเปลือกกล้วยที่ถูกทิ้งไปทำเป็นถุงพลาสติกชีวภาพ หลังจากเธอค้นคว้าวิจัยอยู่นาน ในที่สุดเธอก็สามารถสร้างพลาสติกชีวภาพจากเปลือกกล้วยที่สามารถย่อยสลายได้ โดยที่พลาสติกชีวภาพชนิดนี้ใช้เวลาในการย่อยสลายในธรรมชาติน้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งเร็วกว่าพลาสติกทั่วไปเป็น 100 เท่า

พลาสติกชีวภาพจากต้นกล้วย

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ (UNSW) ในซิดนีย์ ยังเล็งเห็นว่าต้นกล้วยนั้นก็เป็นขยะก้อนใหญ่ที่มักจะถูกทิ้งไว้เฉยๆ หลังจากเก็บเกี่ยวผลกล้วยแตะตัดใบตองไปใช้สอยแล้ว แต่หารู้ไม่ว่า มันก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับเปลือกกล้วย โดยการนำมันมาทำเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ โดยการแปลงสภาพต้นกล้วยให้เป็นนาโนเซลลูโลส โดยการนำเศษต้นกล้วยที่ตากแห้งแล้วมาบดเป็นผงละเอียดๆ ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกชีวภาพได้  นับว่าเป็นไอเดียที่น่าทึ่งมาก 

 

อนาคต

ไม่แน่ในหลายปีข้างหน้า ต้นกล้วยและเปลือกกล้วยอาจจะสามารถนำมาขายได้ เพื่อที่จะนำมันมาแปรรูปเป็นพลาสติกชีวภาพแล้วนำไปทำเป็นสินค้าต่างๆ เช่น กระเป๋า ถุงพลาสติก ขวดน้ำ และอื่นๆ ก็เป็นไปได้ เรียกได้ว่านอกจากจะเป็นมิตรต่อธรรมชาติ ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับเกษตรกรอีกด้วย

นอกจากพลาสติกชีวภาพจากเปลือกกล้วยและต้นกล้วยแล้ว ยังมีพลาสติกชีวภาพจากวัสดุธรรมชาติอีกมากมายหลายชนิด สามารถดูได้เลยที่ลิงค์ด้านล่าง

https://tonghengplastic.com/bioplastic/

 
    Banner Image